วิธีสังเกตอาการของผู้ใช้สารเสพติด
ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม อ่อนเพลีย ผิวหน้าหยาบกร้าน
ตาสู้แสงแดดไม่ได้ ลุกลี้ลุกลน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความรับผิดชอบ
พฤติกรรมเปลี่ยน อาการเมื่อขาดสารเสพติดจะมีอาการขนลุก เหงื่อออก น้ำมูกน้ำตาไหล
กระสับกระส่าย หายใจถี่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน ปวดศีรษะและกระดูก
นอนไม่หลับ
การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. ทดลองด้วยยา
โดยการฉีดยาทำลายฤทธิ์ของสารเสพติด ทำให้เกิดอาการขาดยา
2. การเก็บปัสสาวะ
หรือเลือด (เฉพาะในกรณีการตรวจแอลกอฮอล์และสารละเหย) เพื่อหาสารเสพติดในร่างการ
ซึ่งสามารถแยกชนิดของสารเสพติดได้
สาเหตุของการติดสารเสพติดให้โทษ
1.
สาเหตุทางด้านบุคคล
1.1 ถูกชักชวน
1.2
สภาพความกดดันทางครอบครัว เช่น การทะเลาะกันของพ่อแม่
1.3
ความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น คนขับรถหรือลูกเรือในทะเล
1.4
เกิดความเจ็บป่วยทางกายหรือทางจิตใจ
อาจมีการใช้สารเสพติดเพื่อบรรเทาอาการป่วยทางกายและทางจิตบางชนิดนานติดต่อกันจนติดยาได้
1.5
ถูกหลอกลวงโดยผู้รับไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนรับมาเป็นสารเสพติดหรือโดยการผสมปลอมปนกับอาหาร
ของขบเคี้ยว
2. สาเหตุจากตัวยาหรือสารเสพติด
ตามปกติแล้วตัวยาหรือสารเสพติดจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ
ถ้าคนไม่นำมาใช้ แต่เมื่อบุคคลใช้ยาหรือสารเสพติด
คุณสมบัติเฉพาะของสารนั้นจะทำให้เกิดการเสพติดได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของสารเสพติดที่ใช้
3.
สาเหตุจากสภาพแวดล้อม
3.1 อยู่ในแหล่งที่มีการซื้อ-ขาย หรือเสพ สารเสพติด
3.2 สภาพแวดล้อมบังคับ
โดยเฉพาะผู้ที่ติดสารเสพติดแล้วต้องการจะเลิกเสพเมื่อเข้ารับการรักษาหายแล้ว
สังคมอาจจะไม่ยอมรับ แหล่งงานปฏิเสธการรับเข้าทำงาน เนื่องจากมีประวัติติดสารเสพติด
จึงทำให้ต้องกลับไปอยู่ในสังคมสารเสพติดเช่นเดิม
โทษและพิษภัยของสารเสพติด
1. ต่อผู้เสพ
ทำให้สุขภาพทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ เกิดโรคต่างๆ
2. ต่อครอบครัว
ก่อให้เกิดความเดือดร้อน สูญเสียรายได้ เกิดความไม่สงบสุขภายในครอบครัว
3. ต่อสังคม ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
4. ต่อประเทศชาติ
ทำให้สูญเสียเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล และบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ
การป้องกันสารเสพติด
ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาและหน้าที่ของทุกๆคนทุกๆหน่วยงานต้องร่วมรับผิดชอบและร่วมมือกันดำเนินการในด้านการป้องกันสารเสพติด
ควรเริ่มต้นจากเด็กและเยาวชนให้รู้จักการป้องกันตนเองจากสารเสพติดได้
เพราะเด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่าที่จะเป็นพลังสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต
มาตรการเพื่อป้องกันสารเสพติด
การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด
การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด หมายถึง
การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดสารเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชิวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ
สามารถแบ่งระบบการรักษาออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. ระบบสมัครใจ หมายถึง
การที่ผู้ติดสารเสพติดสมัครใจ
มีความพร้อมที่จะเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
2. ระบบต้องโทษ หมายถึง
การที่ผู้ติดสารเสพติดกระทำความผิดและถูกคุมขัง
จะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย
3. ระบบบังคับ หมายถึง
การใช้กฎหมายบังคับตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534
โดยการตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดหากตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย ผู้เสพติดจะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นตาม
พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นระยะเวลา 6 เดือน หรืออาจจะขยายหรือลดระยะเวลา
การบำบัดรักษาได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 3 ปี
เพื่อให้การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดได้อย่างเด็ดขาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น