วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ยาเสพติด

  

 สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติด
วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกประสบอยู่รวมทั้งประเทศไทย ในอดีตจะพบว่าการแพร่ระบาดนั้นจะอยู่ที่ประชาชนผู้ใช้แรงงานและกลุ่มเยาวชน ชุมชนแออัด ผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจแต่ปัจจุบันสารเสพติดกลับแพร่ระบาดเข้าไปสู่เยาวชนในสถานศึกษาแทน ซึ่งหากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว เยาวชนในสังคมทั่วประเทศไทยก็จะตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวงรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในสถานศึกษาเป็นปัญหาระดับนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเร่งสร้างความตระหนักให้ทุกคนในสังคมร่วมรับผิดชอบร่วมรณรงค์ ป้องกัน และให้ความรู้อย่างครอบคลุมด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัยแก่เยาวชน ซึ่งจะเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้เยาวชนมีความรู้ มีความเข้าใจและตระหนักถึงมหันตภัยของสารเสพติด เกิดเป็นเจตคติที่ดีที่จะดำเนินชีวิตให้ห่างไกลและปลอดภัยจากสารเสพติดทุกชนิดได้ด้วยตนเอง
            ความหมายและการจำแนกประเภทของสารเสพติด
            จากความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หรือความหมายตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ สามารถสื่อความหมายของสารเสพติดได้ตรงกันว่าหมายถึง สารหรือยา หรือวัตถุชนิดใดๆ ที่เมื่อเสพเข้าร่างกายจะโดยวิธีใดๆก็แล้วแต่ จะเป็นผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพในลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ผู้เสพจะเกิดความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง
2. ต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณของสารเสพติดนั้นขึ้นเรื่อยๆ
3. ต้องตกอยู่ใต้อำนาจบังคับอันเกิดจากฤทธิ์ของสารเสพติดนั้นๆ ทำให้หยุดไม่ได้และเกิดอาการขาดยา เมื่อไม่ได้เสพ
4. ผู้เสพจะมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง
จำแนกประเภทได้หลายวิธีที่สำคัญ คือ จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ได้ 4 ประเภท คือ
1. กดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคอีน เฮโรอีน โซเดียมเซโคบาร์ บิทาล(เหล้าแห้ง) ไดอะซีแฟม แล็กเกอร์ คลอไดอะซีป๊อกไซด์ ทินเนอร์ กาว ฯลฯ
2. กระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า ยาม้า ยาขยัน) อีเฟดีน (ยาอี) โคเคอีน กระท่อม ฯลฯ
3. หลอนประสาท ได้แก่ DMT LSD เห็ดขี้ควาย และสารระเหยต่างๆ
4. ออกฤทธิ์ผสมผสาน ซึ่งครั้งแรกกระตุ้นประสาท แต่เมื่อเสพมากขึ้นก็จะกดประสาท และทำให้ประสาทหลอนได้ ได้แก่ กัญชา กระท่อม
จำแนกตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่5) พ.ศ. 2545 จำแนกได้ 5 ประเภท คือ
1.ยาเสพติดชนิดให้โทษรายแรง ได้แก่ เฮโรอีน อะซีทอร์ฟีน แอมเฟตามีน ฯลฯ
2.ยาเสพติดให้โทษทั่วไป ได้แก่ ฝิ่นมอร์ฟีน โคเคอีน เอธิลมอร์ฟีน ฯลฯ
3.ยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1และ 2 ปรุงผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสียที่มีฝิ่น โคเคอีนเป็นส่วนผสม
4.สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และ 2 ได้แก่ อะเซติลคอไรด์ อะเซติกแอนไฮไดรด์

5.พืชเสพติดให้โทษ ได้แก่ กัญชา กระท่อม เห็ดขี้ควาย ซึ่งจัดเป็นยาเสพติดที่ไม่เข้าประเภท 1 และ 4



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น